วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) สนับสนุนการทำหน้าที่ของ กสทช. เพื่อคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคและประโยชน์สาธารณะ

 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) 

สนับสนุนการทำหน้าที่ของ กสทช. เพื่อคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคและประโยชน์สาธารณะ

 


ตามที่ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2568 ตัดสินจำคุก 2 ปี ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.พิรงรอง รามสูต กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบฯ กรณีออกหนังสือแจ้งไปยังผู้ได้รับอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ทุกราย เกี่ยวกับการแพร่เสียงแพร่ภาพผ่านกล่องรับสัญญาณโทรทัศน์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตและแอปพลิเคชัน True ID ซึ่งต่อมาศาลอนุญาตให้ประกันตัวชั่วคราว และเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์รวมทั้งตั้งคำถามถึงการทำหน้าที่เพื่อปกป้องสิทธิผู้บริโภคของ กสทช.ตามมา นั้น

 


คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ในฐานะสถาบันสิทธิมนุษยชนระดับชาติ ขอเน้นย้ำว่า บริการด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมในทุกรูปแบบ เป็นบริการสาธารณะที่จำเป็นขั้นพื้นฐาน มีผลต่อการส่งเสริมความรู้และคุณภาพชีวิตของประชาชน ประชาชนในฐานะผู้บริโภคจึงต้องได้รับการคุ้มครองสิทธิ และรัฐต้องจัดให้มีมาตรการหรือกลไกที่มีประสิทธิภาพในการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภคด้านต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม อันสอดคล้องตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 46 มาตรา 56 วรรคสี่ และมาตรา 61

 


ด้วยเหตุนี้ กสม.จึงขอสนับสนุนการทำหน้าที่ของ กสทช.ในการกำกับดูแลคลื่นความถี่อันเป็นทรัพยากรของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ ตลอดทั้งการกำกับดูแลกิจการการสื่อสารเพื่อพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภคอย่างเป็นอิสระโดยปราศจากการครอบงำทั้งจากอำนาจทางการเมืองและอำนาจทุน และขอเรียกร้องให้หน่วยงานของรัฐทุกฝ่ายรวมทั้ง กสทช. ยืนหยัดในการทำหน้าที่อย่างสุจริต โปร่งใส โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ 



ขณะเดียวกัน กสม. ขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องยึดหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGPs) และแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อร่วมกันพัฒนากฎหมายและนโยบายสาธารณะให้เท่าทันสถานการณ์ภูมิทัศน์สื่อที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยคงไว้ซึ่งหลักการสำคัญคือการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ อันจะส่งผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน


สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

11 กุมภาพันธ์ 2568คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) 


สนับสนุนการทำหน้าที่ของ กสทช. เพื่อคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคและประโยชน์สาธารณะ


 




ตามที่ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2568 ตัดสินจำคุก 2 ปี ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.พิรงรอง รามสูต กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบฯ กรณีออกหนังสือแจ้งไปยังผู้ได้รับอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ทุกราย เกี่ยวกับการแพร่เสียงแพร่ภาพผ่านกล่องรับสัญญาณโทรทัศน์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตและแอปพลิเคชัน True ID ซึ่งต่อมาศาลอนุญาตให้ประกันตัวชั่วคราว และเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์รวมทั้งตั้งคำถามถึงการทำหน้าที่เพื่อปกป้องสิทธิผู้บริโภคของ กสทช.ตามมา นั้น


 




คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ในฐานะสถาบันสิทธิมนุษยชนระดับชาติ ขอเน้นย้ำว่า บริการด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมในทุกรูปแบบ เป็นบริการสาธารณะที่จำเป็นขั้นพื้นฐาน มีผลต่อการส่งเสริมความรู้และคุณภาพชีวิตของประชาชน ประชาชนในฐานะผู้บริโภคจึงต้องได้รับการคุ้มครองสิทธิ และรัฐต้องจัดให้มีมาตรการหรือกลไกที่มีประสิทธิภาพในการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภคด้านต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม อันสอดคล้องตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 46 มาตรา 56 วรรคสี่ และมาตรา 61


 




ด้วยเหตุนี้ กสม.จึงขอสนับสนุนการทำหน้าที่ของ กสทช.ในการกำกับดูแลคลื่นความถี่อันเป็นทรัพยากรของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ ตลอดทั้งการกำกับดูแลกิจการการสื่อสารเพื่อพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภคอย่างเป็นอิสระโดยปราศจากการครอบงำทั้งจากอำนาจทางการเมืองและอำนาจทุน และขอเรียกร้องให้หน่วยงานของรัฐทุกฝ่ายรวมทั้ง กสทช. ยืนหยัดในการทำหน้าที่อย่างสุจริต โปร่งใส โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ 






ขณะเดียวกัน กสม. ขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องยึดหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGPs) และแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อร่วมกันพัฒนากฎหมายและนโยบายสาธารณะให้เท่าทันสถานการณ์ภูมิทัศน์สื่อที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยคงไว้ซึ่งหลักการสำคัญคือการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ อันจะส่งผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน




สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ


11 กุมภาพันธ์ 2568

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บรรยากาศฮัจย์ไทยชื่นมื่น ผู้ได้รับผลกระทบฯ กล่าวขอบคุณทั้งน้ำตา หลังรัฐบาลส่งผู้แทนเดินทางเยี่ยมให้กำลังใจถึงซาอุ

  บรรยากาศฮัจย์ไทยชื่นมื่น ผู้ได้รับผลกระทบฯ กล่าวขอบคุณทั้งน้ำตา หลังรัฐบาลส่งผู้แทนเดินทางเยี่ยมให้กำลังใจถึงซาอุ  เมื่อวันที่ 2 พค.68 เวล...