วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

วว. วิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์สุคนธบำบัดเพื่อการผ่อนคลายจากน้ำมันหอมระเหย “ดอกมะลิลา”

 วว. วิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์สุคนธบำบัดเพื่อการผ่อนคลายจากน้ำมันหอมระเหย “ดอกมะลิลา”

มะลิลา” มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Jasminum sambac Ait.  มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบเอเชีย เช่น อินเดีย คาบสมุทรอาระเบีย  มีลักษณะทั่วไป เป็นไม้พุ่มรอเลื้อยขนาดเล็ก สูงประมาณ 1 - 3 เมตร  จะออกดอกตลอดปี (ออกดอกน้อยช่วงฤดูหนาว)  ดอกจะหอมมากในช่วงเช้าและเย็น)  ขยายพันธุ์โดยการปักชำ (กิ่งยอด) การตอน (กิ่งขนาดใหญ่) การทับกิ่ง (บริเวณที่มีข้อปล้อง)


ด้วยจุดเด่นของมะลิลาที่ออกดอกบ่อย (ในช่วงที่มีอากาศหนาวเย็นจะออกดอกน้อย)  ดอกมีกลิ่นหอมแรง และทยอยออกดอกสม่ำเสมอ อีกทั้งต้นพันธุ์มีราคาถูก ปลูกและดูแลรักษาง่ายกว่าพันธุ์ไม้หอมอีกหลายชนิด จึงเหมาะนำมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย และเป็นการเพิ่มมูลค่าสมุนไพรสู่การนำไปใช้ประโยชน์ และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่มีมูลค่าสูงทางเศรษฐกิจ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)  ดำเนินโครงการการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สุคนธบำบัดเพื่อการผ่อนคลายทำให้อารมณ์และจิตใจสงบจากน้ำมันหอมระเหยของพืชสมุนไพรไทย ประสบผลสำเร็จวิจัยและพัฒนาเป็น “ผลิตภัณฑ์เจลน้ำมันดอกมะลิลา”สำหรับนวดร่างกายหรือแต้มบนผิวหนังบริเวณที่ต้องการ เพื่อช่วยในการผ่อนคลายทำให้อารมณ์และจิตใจสงบ 


ผลิตภัณฑ์ประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหยจากดอกมะลิลาสดที่สกัดโดยใช้เทคนิค Green Technology (Phytonic Extraction) ทำให้ได้น้ำมันดอกมะลิลาที่มีความบริสุทธิ์และคุณภาพสูง 


น้ำมันดอกมะลิลาและผลิตภัณฑ์เจลน้ำมันดอกมะลิลา ได้ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพและประเมินความปลอดภัยในสัตว์ทดลองพบว่า มีความปลอดภัยและสามารถช่วยในการผ่อนคลายได้ดี เมื่อได้กลิ่นน้ำมันหอมระเหย โมเลกุลของน้ำมันหอมระเหยจะเข้าไปจับกับตัวรับ (receptor) บนเยื่อบุจมูก และแปรสัญญาณเป็นสื่อระบบประสาทในสมอง ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมความรู้สึก การสัมผัส อารมณ์ มีผลกระตุ้นหรือระงับระบบประสาทและสมอง ดังนั้นจึงสามารถช่วยในการปรับสมดุลของอารมณ์และจิตใจทำให้ช่วยในการผ่อนคลายได้

จุดเด่นของผลิตภัณฑ์

1.ใช้น้ำมันหอมระเหยบริสุทธิ์ที่สกัดจากดอกมะลิลาสด มีผลต่อการบำบัดรักษา ซึ่งหากเป็นน้ำมันหอมระเหยสังเคราะห์จะไม่มีผลในการบำบัดรักษา

2.ผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในรูปแบบเจล ทำให้สะดวกต่อการใช้งาน พกพาติดตัวได้ง่าย

3.ผู้ใช้สามารถใช้เจลน้ำมันดอกมะลิลาได้แบบเฉพาะบุคคล โดยแต้มหรือทานวดตามส่วนของร่างกายเพื่อช่วยในการผ่อนคลาย หากเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์รูปแบบสเปรย์หรือก้านไม้หอม จะกระจายกลิ่นหอมได้บริเวณกว้าง อาจไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ชอบกลิ่นดอกมะลิ

วว. พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต “น้ำมันดอกมะลิลาและผลิตภัณฑ์เจลน้ำมันดอกมะลิลา” สู่เชิงพาณิชย์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ call center โทร. 0 2577 9000 หรือที่ระบบบริการลูกค้า “วว. JUMP” 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สวทช. จับมือมูลนิธิ SOS และ จ.ปทุมธานี สร้างชุมชนรักษ์อาหารดัน "ปทุมธานีฟูดแบงก์โมเดล" ต้นแบบการจัดการอาหารส่วนเกินระดับท้องถิ่น​ มุ่งใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีบริหารจัดการอาหารส่วนเกินอย่างยั่งยืน

  สวทช. จับมือมูลนิธิ SOS และ จ.ปทุมธานี สร้างชุมชนรักษ์อาหารดัน "ปทุมธานีฟูดแบงก์โมเดล" ต้นแบบการจัดการอาหารส่วนเกินระดับท้องถิ่น...