วันศุกร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2568

วว. / วช. / พันธมิตร จัดกิจกรรมปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ เพื่อลด PM2.5 ในพื้นที่โครงการหลวงขุนวาง จังหวัดเชียงใหม่

 วว. / วช. / พันธมิตร จัดกิจกรรมปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ เพื่อลด PM2.5 ในพื้นที่โครงการหลวงขุนวาง จังหวัดเชียงใหม่


พลเอกกัมปนาท  รุดดิษฐ์ องคมนตรี  เป็นประธานในพิธีจัดกิจกรรมปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ เพื่อลด PM2.5 ในพื้นที่โครงการหลวงขุนวาง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม  โดยกิจกรรมนี้ดำเนินการภายใต้ความร่วมมือระหว่างมูลนิธิโครงการหลวง สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา  วิทยาศาสตร์  วิจัยและนวัตกรรม  (อว.) และโครงการจัดทำนโยบายการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการบริหารจัดการ PM2.5 ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ น่าน และแพร่ ที่ วว. ดำเนินงานภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โอกาสนี้ ผศ.ดร.วีรชัย  อาจหาญ  ผู้ว่าการ  วว.  พร้อมคณะผู้บริหาร บุคลากร หน่วยงานเครือข่ายพันธมิตร เข้าร่วมกิจกรรมด้วย  ในวันที่ 18  กรกฎาคม 2568  ณ  ศูนย์พัฒนาการโครงการหลวงขุนวาง ต.แม่วิน อ.แม่วาง  จ.เชียงใหม่ 



ทั้งนี้การปลูกป่าและวนเกษตรดังกล่าว เป็นกล้าไม้ที่มีการปลูกเชื้อไมคอร์ไรซ่าลงไปในกล้าไม้ป่าและไม้ผล ที่ส่งผลให้ต้นไม้มีการเจริญเติบโตสูงกว่าปกติถึงร้อยละ 50 เนื่องจากไมคอร์ไรซ่าสามารถย่อยสลายสารอินทรีย์รอบรากพืช เปลี่ยนเป็นธาตุอาหารสำหรับพืช อีกทั้งสามารถป้องกันจุลินทรีย์ก่อรากทางราก การเจริญเติบโตที่รวดเร็วนี้สามารถทำให้พืชดูดซับก๊าซเรือนกระจกที่เป็นสาเหตุของฝุ่นพิษ PM2.5 ได้มากขึ้น 




นอกจากนี้ไมคอร์ไรซ่ายังเติบโตเป็นเห็ดตับเต่าเป็นอาหารและแหล่งรายได้ของเกษตรกรในอนาคต  รวมทั้งจะลดจำนวน Hotspot (จากแหล่งกำเนิด PM2.5 จากการเผาในที่โล่ง) ที่ไม่ได้รับอนุญาต ไม่ให้เกิน 2,000 จุด/ปี ของพื้นที่เชียงใหม่ น่าน และแพร่ เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมยั่งยืนที่สามารถลด PM2.5 ในพื้นที่เป้าหมาย และเป็นการสื่อสารเชิงรุกให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าถึงองค์ความรู้ด้านการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เกี่ยวข้องกับ PM2.5  









นับเป็นจุดเริ่มต้นเพื่อการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างยั่งยืน เป็นการเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ สร้างแหล่งอาหาร สร้างอาชีพจากพืชทางเลือกอื่นที่ให้รายได้เพียงพอสำหรับการดำรงชีวิต ชาวบ้านทำกินในพื้นที่อย่างถาวร พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรพื้นที่ และสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีอย่างยั่งยืน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รฟฟท. จัดโครงการ CSR "สายสีแดงร่วมส่งต่อลมหายใจให้น้องหมาน้องแมว" พร้อมมอบเงินสนับสนุน ให้แก่คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

  รฟฟท. จัดโครงการ CSR  "สายสีแดงร่วมส่งต่อลมหายใจให้น้องหมาน้องแมว" พร้อมมอบเงินสนับสนุน ให้แก่คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตร...