วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2568

ปรมาณูเพื่อสันติ อว. สร้างความร่วมมือห้องปฏิบัติการนิวเคลียร์ระดับโลก สหรัฐฯ เดินหน้าเตรียมความพร้อมรองรับ โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์มาตรฐานปลอดภัยขนาดเล็ก (SMRs)

 ปรมาณูเพื่อสันติ อว. สร้างความร่วมมือห้องปฏิบัติการนิวเคลียร์ระดับโลก สหรัฐฯ เดินหน้าเตรียมความพร้อมรองรับ โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์มาตรฐานปลอดภัยขนาดเล็ก (SMRs) 

นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดี วศ. รรท. เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า ภายใต้นโยบายของกระทรวง อว. ที่มุ่งเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ ควบคู่ไปกับการพัฒนากฎหมายและองค์ความรู้ด้านความปลอดภัยทางนิวเคลียร์อย่างยั่งยืน ปส.อว. จึงสร้างความร่วมมือ เพื่อการพัฒนาและเรียนรู้ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อเรียนรู้แนวปฏิบัติด้านการกำกับดูแลนิวเคลียร์จากหน่วยงานวระดับโลก อาทิ Idaho National Laboratory (INL) และ Brookhaven National Laboratory (BNL) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในระดับสากลด้านเทคโนโลยีเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์และการจัดการความปลอดภัย เพื่อศึกษาและเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในการพัฒนากรอบกฎหมายที่เข้มแข็ง การกำกับดูแลระบบ และก้าวทันเทคโนโลยี

การเดินทางดังกล่าวจัดขึ้นในวันที่ 24 – 27 มิถุนายน 2568 โดยมุ่งหวังให้เป็นต้นแบบการพัฒนาและยกระดับกฎหมายกำกับดูแลนโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์มาตรฐานปลอดภัยขนาดเล็ก (SMRs) ในประเทศไทย โดยเฉพาะในด้านการรองรับเทคโนโลยีใหม่ เช่น เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์กำลังขนาดเล็กแบบโมดูลาร์ (Small Modular Reactors; SMRs) ซึ่งมีมาตรฐานและความปลอดภัยสูง ที่สามารถตอบโจทย์ด้านพลังงานสะอาดและความมั่นคงทางพลังงานในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ กล่าวว่า การสร้างความร่วมมือ และการเรียนรู้พัฒนา ณ INL ศูนย์กลางการวิจัยด้านพลังงานนิวเคลียร์ที่มีชื่อเสียงของสหรัฐอเมริกา “ทำให้เราเห็นภาพที่ชัดเจนของระบบการกำกับดูแลที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ ซึ่งรวมถึงกระบวนการออกใบอนุญาต การตรวจสอบ และการบังคับใช้กฎหมาย” อีกทั้งคณะผู้แทนไทยได้มีโอกาสหารือกับผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยนิวเคลียร์ เกี่ยวกับการกำกับดูแล การจัดการกากกัมมันตรังสี และการพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องปฏิกรณ์ขั้นสูง รวมถึงโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์มาตรฐานปลอดภัยขนาดเล็ก  (SMRs) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ประเทศไทยให้ความสนใจ


จากนั้น คณะได้เดินทางไปยัง BNL รัฐนิวยอร์ก เพื่อศึกษาการดำเนินงานในด้านฟิสิกส์พลังงานสูง วิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ และระบบสนับสนุนด้านการกำกับดูแล ซึ่งช่วยเสริมภาพรวมความเข้าใจในการบริหารจัดการความปลอดภัยทางนิวเคลียร์ทั้งในระดับนโยบายและปฏิบัติการ

บทเรียนจากการเยี่ยมชม INL และ BNL จะถูกนำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาและปรับปรุงร่างกฎหมายและข้อกำหนดต่าง ๆ รวมถึงระบบกำกับดูแลที่ได้มาตรฐาน และเกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในประเทศไทย โดยเน้นการพัฒนากฎหมายที่มีความยืดหยุ่น ทันสมัย และระบบกำกับดูแล ที่มีธรรมาภิบาลรองรับเทคโนโลยีใหม่ และสอดคล้องกับมาตรฐานสากลของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) ตลอดจนการความเตรียมพร้อมของประเทศไทยในการยกร่างพระราชบัญญัติความรับผิดทางแพ่งต่อความเสียหายทางนิวเคลียร์และรังสี พ.ศ. .... เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ประชาชน หากในอนาคตประเทศไทยมีแผนนำโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มาเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (Power Development Plan: PDP)” นายแพทย์รุ่งเรือง กล่าวเพิ่มเติม

ทั้งนี้ คาดว่าร่างพระราชบัญญัติความรับผิดทางแพ่งต่อความเสียหายทางนิวเคลียร์และรังสี พ.ศ. .... จะเปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาชนในเร็ว ๆ นี้ ก่อนเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของประเทศไทยในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่การใช้พลังงานนิวเคลียร์อย่างปลอดภัย ยั่งยืน และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล


โฮมโปร ยกระดับประสบการณ์เรื่องบ้านเปิดตัว ‘HOMECARD PRESTIGE’ สิทธิพิเศษเพื่อคนรักบ้านพร้อมมอบเอกสิทธิ์ที่ ‘ใช่’ เพื่อชีวิตที่ดีกว่าในทุกไลฟ์สไตล์

 โฮมโปร ยกระดับประสบการณ์เรื่องบ้านเปิดตัว ‘HOMECARD PRESTIGE’ สิทธิพิเศษเพื่อคนรักบ้านพร้อมมอบเอกสิทธิ์ที่ ‘ใช่’ เพื่อชีวิตที่ดีกว่าในทุกไลฟ์สไตล์

โฮมโปร เปิดตัว ‘HOMECARD PRESTIGE’ “สิทธิพิเศษเพื่อคนรักบ้าน” ต่อยอดความพิเศษจากการเป็นสมาชิกโฮมการ์ด มอบเอกสิทธิ์เหนือระดับที่ออกแบบมาอย่างเข้าใจการใช้ชีวิตอย่างแท้จริง ครอบคลุมตั้งแต่สินค้าและบริการ พร้อมสิทธิ์แลกรับไลฟ์สไตล์ที่เหนือระดับ มาพร้อมแนวคิด “Good Benefit, Better Personalization, Best Life Journey” ที่มุ่งเน้นการมอบสิทธิประโยชน์ที่ตรงใจ ไม่ว่าจะเป็นบริการดูแลบ้านจากช่างผู้เชี่ยวชาญ การจัดส่งและติดตั้งสินค้ารวดเร็วแบบ Same-Day Delivery และสิทธิพิเศษจากพันธมิตรชั้นนำทั่วประเทศ ครอบคลุมร้านอาหาร คาเฟ่ โรงแรม สถานบันเทิง และอีกมากมาย เหมาะกับ Lifestyle ทุกกลุ่มเป้าหมาย และช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น ภายใต้แนวคิดหลัก “We Make a Better Living


คุณวีรพันธ์ อังสุมาลี กรรมการผู้จัดการ บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ "โฮมโปร" กล่าวว่า โฮมการ์ดไม่ใช่แค่บัตรสมาชิก แต่เป็นสะพานที่เชื่อมระหว่างความต้องการของลูกค้าและความเข้าใจในไลฟ์สไตล์ของคนรักบ้าน โดยเฉพาะกลุ่ม High Spending ที่มองหาความคุ้มค่า ประสบการณ์ที่เหนือระดับ และความสะดวกสบายแบบไร้รอยต่อในทุกมิติของการใช้ชีวิต โฮมโปรจึงได้มุ่งพัฒนา ‘HOMECARD PRESTIGE’ ให้เป็นตัวแทนของมิตรภาพระหว่างแบรนด์กับลูกค้า ที่ช่วยเติมเต็มการอยู่อาศัยในทุกมิติ ทั้งเรื่องสินค้า บริการ รวมถึงไลฟ์สไตล์อย่างมีคุณภาพ ด้วยสิทธิพิเศษที่ออกแบบอย่างตั้งใจ และต่อเนื่อง จากเสียงของลูกค้าทั่วประเทศ

การเปลี่ยนแปลงนี้ ไม่ใช่เพียงแค่การยกระดับสิทธิพิเศษ แต่คือการวางมาตรฐานใหม่ในการดูแลลูกค้าด้วยความใส่ใจจากใจจริง เพราะเราโฮมโปรเชื่อมั่นว่า ‘บ้าน’ คือจุดเริ่มต้นของคุณภาพชีวิตที่ดี และ HOMECARD PRESTIGE คือสัญลักษณ์ของความใส่ใจในทุกรายละเอียด และตัวเลือกที่ใช่ เพื่อมอบชีวิตที่ดีกว่าให้กับลูกค้าทุกคนอย่างแท้จริง


HOMECARD PRESTIGE ยกระดับประสบการณ์เรื่องบ้านให้เหนือระดับ ด้วยเอกสิทธิ์เฉพาะสำหรับสมาชิก โดยปรับเกณฑ์ยอดซื้อรายปีจาก 600,000 บาท เหลือเพียง 250,000 บาทต่อปี เพื่อเปิดโอกาสให้ลูกค้าเข้าถึงความพิเศษระดับพรีเมียมได้ง่ายยิ่งขึ้น HOMECARD PRESTIGE จึงสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น พร้อมมอบเพิ่มสิทธิพิเศษสุดเอ็กซ์คลูซีฟที่ไม่เคยมีมาก่อนได้อย่างต่อเนื่อง เช่น


บริการจัดส่งสินค้าฟรี! และติดตั้งภายในวัน (Same-Day Delivery) แบบไม่จำกัดจำนวนครั้ง !!

คูปองส่วนลดวันเกิดสูงสุดถึง 50%  

แลกคะแนนโฮมการ์ด 500 คะแนน รับส่วนลดสูงสุดถึง 100 บาท !! 


สิทธิ์บริการเรื่องบ้านจากช่างโฮมโปร (CHANG HomePro) เช่น ส่วนลดบริการล้างทำความสะอาด 5%/ครั้ง, บริการตรวจเช็คระบบไฟฟ้า-น้ำประปาภายในบ้าน, บริการล้างเครื่องปรับอากาศ, บริการแม่บ้านทำความสะอาด, ช่างฉุกเฉิน 24 ชั่วโมง, ออกแบบห้องน้ำ ห้องครัว ปูกระเบื้องแบบ 3 มิติ   

และอื่น ๆ อีกมากมาย


โดยทุกการใช้จ่ายที่โฮมโปร เมกาโฮม และโฮมโปรออนไลน์ ครบทุก 30 บาท จะได้รับคะแนนสะสม 1 คะแนน ซึ่งสามารถนำไปแลกรับส่วนลดซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ พร้อมเอกสิทธิ์พิเศษร่วมกับพาร์ตเนอร์แบรนด์และสถาบันการเงินชั้นนำ ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร Fine Dining, โรงแรมระดับ 5 ดาว, คาเฟ่แบรนด์ดัง, เครื่องดื่ม, ความบันเทิง และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งสิทธิพิเศษต่าง ๆ ถูกออกแบบให้ตอบโจทย์สถานการณ์ชีวิตที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวใหญ่ที่ต้องการบริการที่ดูแลครบวงจร หรือผู้อยู่อาศัยคอนโดที่เน้นความคล่องตัว รวดเร็ว


ต้อนรับการเปิดตัว HOMECARD PRESTIGE ด้วยไฮไลต์แคมเปญ “HomeCard Month” ที่เตรียมมอบความคุ้มค่าสูงสุดให้สมาชิก แจกสนั่นกว่า 10 ล้านพอยท์* เพียงช้อปตั้งแต่บาทแรกที่ โฮมโปร, เมกาโฮม ทุกสาขา, ช่องทางออนไลน์ หรือใช้บริการช่างโฮมโปร (CHANG HomePro) รับเลยทันที คะแนนสะสมโฮมการ์ด x10 เท่า (สูงสุด 1,000 คะแนน /หมายเลขสมาชิก จำกัด 10,000 สิทธิ์ตลอดรายการ) ระหว่างวันที่ 1–20 กรกฎาคม 2568 นี้ โดยสามารถลงทะเบียนร่วมแคมเปญ ผ่านแอปพลิเคชัน HomeCard เท่านั้น


“HOMECARD PRESTIGE คืออีกก้าวสำคัญโฮมโปร ในการส่งมอบประสบการณ์ชีวิตที่ดีขึ้นไปอีกขั้น ตามแนวคิด ‘We Make A Better Living’ เราเชื่อว่าความใส่ใจในทุกรายละเอียดการอยู่อาศัย คือจุดเริ่มต้นคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างแท้จริง และโฮมโปรจะเดินหน้าต่อยอดให้โฮมการ์ดเป็นเพื่อนที่รู้ใจคนรักบ้าน เติมเต็มทุกไลฟ์สไตล์ชีวิตต่อเนื่อง” คุณวีรพันธ์ กล่าว


#HOMECARDPRESTIGE #HOMECARD #สิทธิพิเศษที่รู้ใจคนรักบ้าน #โฮมการ์ด #โฮมโปร #HomePro #BetterLivingเพื่อชีวิตที่ดีกว่า #Homepropr


“ดีเดย์ 1 ก.ค. 68 คต. พร้อมออก Form C/O ส่งออกไป EU ผ่าน ระบบ DFT SMART C/O แบบครบวงจร!”

 “ดีเดย์ 1 ก.ค. 68 คต. พร้อมออก Form C/O ส่งออกไป EU ผ่าน ระบบ DFT SMART C/O แบบครบวงจร!”

ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2568 เป็นต้นไป กรมการค้าต่างประเทศจะเปิดให้บริการออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Form C/O) สำหรับสินค้าที่ส่งออกไปยังสหภาพยุโรป (EU) ผ่านระบบ DFT SMART C/O อย่างครบวงจร โดยผู้ประกอบการสามารถยื่นคำขอและติดตามสถานะออนไลน์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง และรับหนังสือรับรองฯ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว หรือ Self-printing ได้จากที่บ้านหรือสำนักงานของตนเอง

นางอารดา เฟื่องทอง อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ ในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่ออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า หรือ Certificate of Origin (C/O) ให้ผู้ส่งออกนำไปใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากร ณ ประเทศปลายทาง จะเปิดให้บริการออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า สำหรับสินค้าที่ส่งออกไปสหภาพยุโรป (EU) ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2568 เป็นต้นไป โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ (1) สินค้าที่ได้โควตาในการนำเข้า EU รวม 5 ประเภท ได้แก่ ปลา ไก่ มันสำปะหลัง แป้งมันสำปะหลัง ข้าว และ (2) สินค้า    ที่ต้องมีหนังสือรับรองฯ ประกอบการส่งออกไป EU รวม 3 ประเภท ได้แก่ ใบยาสูบ หัตถกรรมทั่วไป ผ้าไหมและผ้าฝ้ายทอด้วยมือ ซึ่งสหภาพยุโรปแจ้งว่ายอมรับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Form C/O) สำหรับสินค้าส่งออกไป EU ที่กรมฯ จะให้บริการผ่านระบบ DFT SMART C/O แล้ว โดยการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวประกอบด้วยการลงลายมือชื่อและตราประทับอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Signature and Seal (ESS)) และการเปลี่ยนแปลงแบบพิมพ์หนังสือรับรองฯ จากเดิมที่ใช้กระดาษต่อเนื่อง เป็นกระดาษ A4 (สีขาว) พร้อมทั้งแสดง QR code 2 รหัส ด้านล่างของหนังสือรับรองฯ เพื่อป้องกันการปลอมแปลงและรับรองการมีอยู่ของเอกสาร ณ เวลานั้น ๆ (e-timestamping) 


ระบบ DFT SMART C/O ของกรมการค้าต่างประเทศ ถือเป็นการยกระดับการให้บริการออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าแบบครบวงจรอย่างแท้จริง โดยมุ่งเน้นอำนวยความสะดวกในการใช้งานของผู้ประกอบการ ตั้งแต่การยื่นคำขอฯ การติดตามสถานะคำขอฯ ที่สามารถดำเนินการผ่านระบบฯ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง และสามารถติดต่อขอรับหนังสือรับรองฯ ที่เจ้าหน้าที่อนุมัติแล้วด้วยบัตรประชาชนเพียงใบเดียว นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังสามารถสั่งซื้อแบบพิมพ์ Form C/O ไป EU ผ่านเว็บไซต์ https://formstore.dft.go.th เพื่อนำไปพิมพ์เอง (Self - printing) จากสำนักงานหรือที่บ้านของผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรับ Form C/O สินค้าส่งออกไป EU ที่ง่ายดายและสะดวกรวดเร็ว ตอบโจทย์การค้ายุคใหม่ โดยผู้ประกอบการ  ไม่จำเป็นต้องเดินทางมารับหนังสือรับรองฯ ที่หน่วยงานให้บริการ (No visit) อีกต่อไป สำหรับผู้ประกอบการที่ยังไม่เคยขอหนังสือรับรองฯ ผ่านระบบ DFT SMART C/O ขอให้เตรียมความพร้อมโดยการสมัครบัญชีผู้ใช้งานประเภทนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา รวมถึงมอบ - รับมอบอำนาจ ผ่านระบบ DFT SMART - I ในลำดับแรกและส่งภาพลายเซ็น ภาพตราประทับ และไฟล์ Digital Certificate (DC) ผ่านระบบ DFT SMART C/O ให้เรียบร้อยก่อน จึงจะสามารถยื่นขอ Form C/O ไป EU กับระบบ DFT SMART C/O ได้ต่อไป 

นางอารดาฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในระหว่างปี 2565 – 2567 มีการออก Form C/O ไป EU รวมทั้งสิ้น 50,526 ฉบับ คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 3,891 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับสินค้าที่มีผู้ประกอบการขอ Form C/O ไป EU มากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ ไก่ จำนวน 47,654 ฉบับ คิดเป็นมูลค่า 3,668 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ข้าว จำนวน 1,857 ฉบับ คิดเป็นมูลค่า 106 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ แป้งมันสำปะหลัง จำนวน 602 ฉบับ คิดเป็นมูลค่า 18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคาดว่าการเปิดให้บริการ Form C/O ไป EU ผ่านระบบ DFT SMART C/O จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการและส่งเสริมการค้าระหว่างไทยและสหภาพยุโรปสำหรับสินค้าดังกล่าวได้เป็นอย่างดี 


นางอารดาฯ ได้กล่าวปิดท้ายว่า ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2566 ถึงปัจจุบัน กรมฯ ได้เปิดให้บริการออกหนังสือรับรองฯ ผ่านระบบ DFT SMART C/O รวม 11 ประเภท ได้แก่ Form RCEP, Form อาเซียน - ฮ่องกง, Form อาเซียน - ญี่ปุ่น, Form ไทย - เปรู, Form อาเซียน - จีน, Form อาเซียน - เกาหลี, Form C/O ทั่วไป, Form อาเซียน - ออสเตรเลีย - นิวซีแลนด์, Form ไทย - ญี่ปุ่น Form ไทย - ออสเตรเลีย และ e-Form D (อาเซียน) โดยมีปริมาณการออก Form รวมทั้งสิ้น 983,870 ฉบับ คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 90,033.63 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับ Form ที่มีผู้ประกอบการขอมากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ Form E (อาเซียน - จีน) จำนวน 363,635 ฉบับ คิดเป็นมูลค่า 34,865.36 ล้านดอลลาร์สหรัฐ Form C/O ทั่วไป จำนวน 273,838 ฉบับ คิดเป็นมูลค่า 19,156.63 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ Form ไทย - ญี่ปุ่น จำนวน 120,663 ฉบับ คิดเป็นมูลค่า 7,336.53 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และกรมฯ มีแผนจะเปิดให้บริการออกฟอร์มอีก 3 ประเภท ได้แก่ อาเซียน - อินเดีย ไทย - อินเดีย และไทย - ชีลี ผ่านระบบ DFT SMART C/O ให้ได้ภายในปี 2568  ทั้งนี้ ผู้ประกอบการสามารถติดตามข้อมูลข่าวสาร ผ่านหน้าระบบการให้บริการออกหนังสือรับรองฯ และที่เว็บไซต์กรมการค้าต่างประเทศ www.dft.go.th หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ สายด่วนกรมการค้าต่างประเทศ 1385

 1 ก.ค. 68 คต. พร้อมออก Form C/O ส่งออกไป EU ผ่าน ระบบ DFT SMART C/O แบบครบวงจร!”



ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2568 เป็นต้นไป กรมการค้าต่างประเทศจะเปิดให้บริการออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Form C/O) สำหรับสินค้าที่ส่งออกไปยังสหภาพยุโรป (EU) ผ่านระบบ DFT SMART C/O อย่างครบวงจร โดยผู้ประกอบการสามารถยื่นคำขอและติดตามสถานะออนไลน์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง และรับหนังสือรับรองฯ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว หรือ Self-printing ได้จากที่บ้านหรือสำนักงานของตนเอง


นางอารดา เฟื่องทอง อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ ในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่ออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า หรือ Certificate of Origin (C/O) ให้ผู้ส่งออกนำไปใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากร ณ ประเทศปลายทาง จะเปิดให้บริการออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า สำหรับสินค้าที่ส่งออกไปสหภาพยุโรป (EU) ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2568 เป็นต้นไป โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ (1) สินค้าที่ได้โควตาในการนำเข้า EU รวม 5 ประเภท ได้แก่ ปลา ไก่ มันสำปะหลัง แป้งมันสำปะหลัง ข้าว และ (2) สินค้า    ที่ต้องมีหนังสือรับรองฯ ประกอบการส่งออกไป EU รวม 3 ประเภท ได้แก่ ใบยาสูบ หัตถกรรมทั่วไป ผ้าไหมและผ้าฝ้ายทอด้วยมือ ซึ่งสหภาพยุโรปแจ้งว่ายอมรับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Form C/O) สำหรับสินค้าส่งออกไป EU ที่กรมฯ จะให้บริการผ่านระบบ DFT SMART C/O แล้ว โดยการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวประกอบด้วยการลงลายมือชื่อและตราประทับอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Signature and Seal (ESS)) และการเปลี่ยนแปลงแบบพิมพ์หนังสือรับรองฯ จากเดิมที่ใช้กระดาษต่อเนื่อง เป็นกระดาษ A4 (สีขาว) พร้อมทั้งแสดง QR code 2 รหัส ด้านล่างของหนังสือรับรองฯ เพื่อป้องกันการปลอมแปลงและรับรองการมีอยู่ของเอกสาร ณ เวลานั้น ๆ (e-timestamping) 


ระบบ DFT SMART C/O ของกรมการค้าต่างประเทศ ถือเป็นการยกระดับการให้บริการออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าแบบครบวงจรอย่างแท้จริง โดยมุ่งเน้นอำนวยความสะดวกในการใช้งานของผู้ประกอบการ ตั้งแต่การยื่นคำขอฯ การติดตามสถานะคำขอฯ ที่สามารถดำเนินการผ่านระบบฯ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง และสามารถติดต่อขอรับหนังสือรับรองฯ ที่เจ้าหน้าที่อนุมัติแล้วด้วยบัตรประชาชนเพียงใบเดียว นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังสามารถสั่งซื้อแบบพิมพ์ Form C/O ไป EU ผ่านเว็บไซต์ https://formstore.dft.go.th เพื่อนำไปพิมพ์เอง (Self - printing) จากสำนักงานหรือที่บ้านของผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรับ Form C/O สินค้าส่งออกไป EU ที่ง่ายดายและสะดวกรวดเร็ว ตอบโจทย์การค้ายุคใหม่ โดยผู้ประกอบการ  ไม่จำเป็นต้องเดินทางมารับหนังสือรับรองฯ ที่หน่วยงานให้บริการ (No visit) อีกต่อไป สำหรับผู้ประกอบการที่ยังไม่เคยขอหนังสือรับรองฯ ผ่านระบบ DFT SMART C/O ขอให้เตรียมความพร้อมโดยการสมัครบัญชีผู้ใช้งานประเภทนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา รวมถึงมอบ - รับมอบอำนาจ ผ่านระบบ DFT SMART - I ในลำดับแรกและส่งภาพลายเซ็น ภาพตราประทับ และไฟล์ Digital Certificate (DC) ผ่านระบบ DFT SMART C/O ให้เรียบร้อยก่อน จึงจะสามารถยื่นขอ Form C/O ไป EU กับระบบ DFT SMART C/O ได้ต่อไป 


นางอารดาฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในระหว่างปี 2565 – 2567 มีการออก Form C/O ไป EU รวมทั้งสิ้น 50,526 ฉบับ คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 3,891 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับสินค้าที่มีผู้ประกอบการขอ Form C/O ไป EU มากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ ไก่ จำนวน 47,654 ฉบับ คิดเป็นมูลค่า 3,668 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ข้าว จำนวน 1,857 ฉบับ คิดเป็นมูลค่า 106 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ แป้งมันสำปะหลัง จำนวน 602 ฉบับ คิดเป็นมูลค่า 18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคาดว่าการเปิดให้บริการ Form C/O ไป EU ผ่านระบบ DFT SMART C/O จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการและส่งเสริมการค้าระหว่างไทยและสหภาพยุโรปสำหรับสินค้าดังกล่าวได้เป็นอย่างดี 


นางอารดาฯ ได้กล่าวปิดท้ายว่า ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2566 ถึงปัจจุบัน กรมฯ ได้เปิดให้บริการออกหนังสือรับรองฯ ผ่านระบบ DFT SMART C/O รวม 11 ประเภท ได้แก่ Form RCEP, Form อาเซียน - ฮ่องกง, Form อาเซียน - ญี่ปุ่น, Form ไทย - เปรู, Form อาเซียน - จีน, Form อาเซียน - เกาหลี, Form C/O ทั่วไป, Form อาเซียน - ออสเตรเลีย - นิวซีแลนด์, Form ไทย - ญี่ปุ่น Form ไทย - ออสเตรเลีย และ e-Form D (อาเซียน) โดยมีปริมาณการออก Form รวมทั้งสิ้น 983,870 ฉบับ คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 90,033.63 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับ Form ที่มีผู้ประกอบการขอมากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ Form E (อาเซียน - จีน) จำนวน 363,635 ฉบับ คิดเป็นมูลค่า 34,865.36 ล้านดอลลาร์สหรัฐ Form C/O ทั่วไป จำนวน 273,838 ฉบับ คิดเป็นมูลค่า 19,156.63 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ Form ไทย - ญี่ปุ่น จำนวน 120,663 ฉบับ คิดเป็นมูลค่า 7,336.53 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และกรมฯ มีแผนจะเปิดให้บริการออกฟอร์มอีก 3 ประเภท ได้แก่ อาเซียน - อินเดีย ไทย - อินเดีย และไทย - ชีลี ผ่านระบบ DFT SMART C/O ให้ได้ภายในปี 2568  ทั้งนี้ ผู้ประกอบการสามารถติดตามข้อมูลข่าวสาร ผ่านหน้าระบบการให้บริการออกหนังสือรับรองฯ และที่เว็บไซต์กรมการค้าต่างประเทศ www.dft.go.th หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ สายด่วนกรมการค้าต่างประเทศ 1385


ดีพร้อม เดินหน้ากิจกรรมการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในอุตสาหกรรมเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายไทย​ จัดอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ สัมมนาเชิงปฏิบัติการ พร้อมศึกษาดูงาน

 ดีพร้อม เดินหน้ากิจกรรมการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในอุตสาหกรรมเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายไทย​ จัดอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ สัมมนาเชิงปฏิบัติการ พร้อมศึกษาดูงาน

 

เมื่อเร็ว ๆ นี้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM) หรือ ดีพร้อม จัดฝึกอบรมให้ทักษะ และศึกษาดูงานใน กิจกรรมการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในอุตสาหกรรมเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายไทย ภายใต้โครงการพัฒนาและเชื่อมโยงเครือข่ายอุตสาหกรรมแฟชั่น (Fashion Alliance) ปีงบประมาณ พ.ศ.2568 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร


ภายในงาน มีทั้งวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ จากหน่วยงานภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคเอกชนต่าง ๆ  ร่วมให้ทักษะและองค์ความรู้ อาทิ Ms. Jayne Simone Esteve Curé Fashion business expert , ดร.สุธินี ตันอังสนากุล รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแฟชั่นแห่งประเทศไทย คุณสักกฉัฐ ศิวะบวร ผู้เชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์ และนักยุทธศาสตร์เชิงสร้างสรรค์, รศ.ดร ทวีชัย อมรศักดิ์ชัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล., นายนิติ นิมะลา สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, .คุณกิรณา จิรเศรษฐากูลอาจารย์และวิทยากรด้านการตลาด การบริหารจัดการ, คุณธนวัฒน์ เรืองเทพรัชต์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแฟชั่นแห่งประเทศไทย (inFASH) และ คุณจุฑามาศ โกเมนไทย ผู้จัดการแผนกข้อมูลอุตสาหกรรม สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ


โดยจัดอบรมหลักสูตรต่าง ๆ 5 วัน และอบรมเชิงปฏิบัติการ (Work shop) 2 วัน ในหัวข้อ อาทิ Fashion Cross-Overs and Cross-Over Collaborations, การทำแฟชั่นโชว์ทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์, การ Collaboration กับสาขาอื่น, เข้าใจแนวโน้มแฟชั่น สีและวัสดุปี ๒๐๒๖, วัฒนธรรมการบริโภคแฟชั่นในแต่ละภูมิภาค, บันไดขั้นแรก Soft Power, การผสานเอกลักษณ์ไทยสู่แฟชั่นดีไซน์ระดับสากล, การผลิตสินค้านวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน, เทคโนโลยียุคใหม่ในโลกแฟชั่น, Modern Marketing การตลาดแห่งอนาคต, เทคนิคการทำตลาดออนไลน์ สินค้า Apparel, การสร้างแบรนด์ไทยให้โดดเด่นและครองใจผู้บริโภค, การผลิตสินค้าแฟชั่นไทย มาตรฐานการส่งออก, การวิเคราะห์และออกแบบโมเดลธุรกิจด้านแฟชั่น, เทคนิคการนําเสนอโมเดลธุรกิจด้านแฟชั่น,การทำตลาดออนไลน์ 

​ นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมศึกษาดูงาน บริษัท นารายณ์อินเตอร์เทรด จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ทำจากผ้า อาทิ กระเป๋า อุปกรณ์ใช้สอยภายในบ้านและสำนักงานของที่ระลึก ของตกแต่งในเทศกาลต่างๆ จำหน่ายทั้งใน และต่างประเทศ ภายใต้ตราสินค้า นารายา (NaRaYa) มานานกว่า 35 ปี  และ พิพิธภัณฑ์บ้าน จิม ทอมป์สัน แหล่งจัดแสดงวัตถุโบราณและคอลเล็กชั่นงานศิลป์ที่เชื่อมโยงถึงประวัติศาสตร์และมรดกทางวัฒนธรรม

โดยภาพรวมกิจกรรมดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อเสริมองค์ความรู้ และให้ทักษะ พร้อมสร้างแรงบันดาลใจ และเปิดประสบการณ์ ผู้เข้าร่วมโครงการ ได้นำแนวคิด ทุนวัฒนธรรม อัตลักษณ์ พัฒนาสินค้าเสื้อผ้าและเครื่องแต่งไทยต่อยอดสู่ซอฟต์พาวเวอร์ได้ในอนาคต

 


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โทรศัพท์ 0 2430 6883และติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ เว็บไซต์ www.diprom.go.th และ www.facebook.com/dipromindustry

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือ “เชลล์” พัฒนาช่างศูนย์บริการ สร้างมาตรฐานใหม่ด้านยานยนต์

 กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือ “เชลล์” พัฒนาช่างศูนย์บริการ สร้างมาตรฐานใหม่ด้านยานยนต์

วันที่ 30 มิถุนายน 2568  กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด  ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือการพัฒนาฝีมือแรงงาน การพัฒนาฝีมือแรงงานการบำรุงรักษารถยนต์และรถจักรยานยนต์ โดยมีนายภัทรวุธ เภอแสละ รองอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และนางสาวอรอุทัย ณ เชียงใหม่ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด เป็นผู้ลงนาม นายไกรวิทย์ เอกธรรมสุทธิ์ ผู้อำนวยการกองแผนงานและสารสนเทศ และนายโอมาร์ เชค กรรมการบริหาร ธุรกิจโมบิลิตี้ – ค้าปลีก บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด เป็นพยาน ผู้บริหารกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และบริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด ร่วมงาน ณ ห้องประชุม ชั้น 3 บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด  สำนักงานใหญ่ เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร






นายภัทรวุธ เภอแสละ รองอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เปิดเผยว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมยานยนต์เป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการผลิต การจำหน่าย และการบริการหลังการขาย ประกอบกับปัจจุบันจำนวนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ความต้องการในการให้บริการรถยนต์และรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้น จึงทำให้มีความต้องการช่างฝีมือประจำศูนย์บริการเป็นจำนวนมากที่ให้บริการบำรุงรักษา การซ่อมแซม และการตรวจสภาพ การตรวจสอบระบบความปลอดภัย การบริการติดตั้งอุปกรณ์เสริมของรถยนต์และรถจักรยานยนต์ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กับบริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด จึงได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือการพัฒนาฝีมือแรงงาน การบำรุงรักษารถยนต์และรถจักรยานยนต์ เพื่อพัฒนาฝีมือแรงงาน เตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน และพัฒนากำลังแรงงานที่อยู่ในตลาดแรงงานให้มีทักษะฝีมือสูงขึ้น ซึ่งทั้ง 2 หน่วยงานจะร่วมกันจัดทำหลักสูตรด้านยานยนต์ จำนวน 5 หลักสูตร ได้แก่  หลักสูตรการบำรุงรักษารถจักรยานยนต์เบื้องต้น หลักสูตรการซ่อมรถจักรยานยนต์เบื้องต้น หลักสูตรการบริการรถยนต์เบื้องต้น หลักสูตรการบำรุงรักษาเครื่องยนต์และช่วงล่างรถยนต์เบื้องต้น และหลักสูตรการบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าและระบบปรับอากาศรถยนต์เบื้องต้น โดยจะมีการฝึกอบรมหลักสูตรการบริการรถยนต์เบื้องต้น เป้าหมายดำเนินการ ให้แก่พนักงานประจำศูนย์บริการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องเชลล์ จำนวน 760 คน ในพื้นที่ 11 จังหวัดนำร่อง ได้แก่ สมุทรปราการ สุพรรณบุรี ชลบุรี ราชบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น อุบลราชธานี พิษณุโลก ลำปาง สุราษฎร์ธานี และสงขลา ให้มีความรู้ ความสามารถ และฝึกทักษะสำหรับการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพให้ได้มาตรฐานฝีมือแรงงาน









นายภัทรวุธ กล่าวเพิ่มเติมว่า หลังเสร็จสิ้นพิธีลงนาม ได้มอบวุฒิบัตรแก่ผู้ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการบริการรถยนต์เบื้องต้น รุ่น 1 ของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 1 สมุทรปราการ  จำนวน 17 คน และหลังจากนี้มีแผนในการจัดตั้งศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน สาขาช่างบำรุงรักษารถยนต์ ระดับ 1 ณ ศูนย์ฝึกอบรมของบริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด  สำนักงานใหญ่ เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นการยกระดับทักษะของพนักงาน และแสดงถึงการบริการที่มีมาตรฐานที่จะส่งเสริมให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีแก่องค์กร และเพื่อความมั่นใจแก่ผู้รับบริการอีกด้วย ทั้งนี้ ขอขอบคุณบริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด ที่ให้ความสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน นำไปสู่การบริการที่ดีและมีคุณภาพ พร้อมทั้งสนับสนุนให้ภาคอุตสาหกรรมมีบุคลากรที่มีความรู้และทักษะตรงตามมาตรฐาน เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างยั่งยืนต่อไป


วว./บพค. ร่วมเปิดโลกนวัตกรรมอาหารเพื่อสุขภาพผ่านการบรรยายพิเศษ “Structure-Function Properties of Food Protein-Derived Peptides for NCDs”

 วว./บพค. ร่วมเปิดโลกนวัตกรรมอาหารเพื่อสุขภาพผ่านการบรรยายพิเศษ “Structure-Function Properties of Food Protein-Derived Peptides for NCDs”



















นางศิรินันท์   ทับทิมเทศ  นักบริหารพิเศษและรักษาการผู้อำนวยการ ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมอาหารสุขภาพ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดกิจกรรมบรรยายพิเศษเปิดโลกนวัตกรรมอาหารเพื่อสุขภาพ ในหัวข้อ “Structure-Function Properties of Food Protein-Derived Peptides for NCDs” ภายใต้การสนับสนุนโดย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคนและทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาการวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) ซี่งได้รับเกียรติจาก Professor Rotimi Aluko นักวิจัยระดับโลกจาก University of Manitoba ประเทศแคนาดา  ผู้เชี่ยวชาญด้านโปรตีนจากพืชและสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ ถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักวิจัย ผู้ประกอบการ และผู้สนใจ  ในวันที่  30  มิถุนายน 2568  ณ อาคารถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อ SMEs วว. เทคโนธานี คลองห้า จังหวัดปทุมธานี





รฟฟท. จัดโครงการ CSR "สายสีแดงร่วมส่งต่อลมหายใจให้น้องหมาน้องแมว" พร้อมมอบเงินสนับสนุน ให้แก่คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

  รฟฟท. จัดโครงการ CSR  "สายสีแดงร่วมส่งต่อลมหายใจให้น้องหมาน้องแมว" พร้อมมอบเงินสนับสนุน ให้แก่คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตร...